วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ต้านความอ้วน ด้วยสารในผัก ผลไม้




นักวิทย์จากไต้หวันเผยผัก ผลไม้ช่วยลดความอ้วนได้เนื่องจากมีสารประกอบที่เรียกว่าเฟลโวนอยด์และสารประกอบฟีนอลิก (phenolic acids)Gow-Chin Yen และ Chin-Lin Hsu แสดงให้เห็นว่าสารประกอบที่ว่านี้มีอยู่เป็นจำนวนมากในผัก ผลไม้ นัทและพืชที่ใช้ทำเป็นเครื่องดื่มจำพวก กาแฟ ชาและไวน์ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสารเฟลโวนอยด์ และ phenolic acids มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคอ้วน และความผิดปกติทั้งหลาย อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานแน่ชัดระบุว่าเหตุใดสารประกอบเหล่านี้จึงช่วยลดเซลล์ไขมันได้สารเฟลโวนอยด์และ phenolic acids ถือเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอย่างหนึ่งครับ อนุมูลอิสระเป็นต้นเหตุแห่งความชรา โรคอ้วน โรคหัวใจ ภูมิแพ้ มะเร็ง ฯลฯ ยังเป็นโชคดีของมนุษย์ที่อาหารในธรรมชาติ เช่น พืช ผักผลไม้ ที่เรารับประทานกันอยู่ในปัจจุบันมี “พฤกษเคมี” ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ หรือแอนติออกซิแดนท์ เช่น พวกวิตามิน เกลือแร่ สารเฟลโวนอยด์ ฯลฯ ที่ร่างกายต้องการ แม้ในปริมาณไม่มากนัก แต่มีความจำเป็นต่อการทำงานของเอนไซม์ต่างๆ ที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ในร่างกายมหาศาลครับนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษา phenolic acids 15 ชนิดและเฟลโวนอยด์ 6ชนิด ที่มีผลกับเซลล์ไขมันหนูที่เลี้ยงไว้ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเมื่อเซลล์ไขมันหนูได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจะมีระดับของเอนไซม์สร้างไตรกลีเซอไรด์น้อยลงและมีระดับของไตรกลีเซอไรด์น้อยลงด้วย ไตรกลีเซอไรด์ คืออนุภาคไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นในตับ มีขนาดเบาบางและเล็กมาก จึงไม่น่าแปลกที่ใครบางคนบอกว่า อยู่เฉยๆ ร่างกายก็ผลิตไตรกลีเซอไรด์ แต่ไขมันชนิดนี้ยังเพิ่มพูนในร่างกายของเราได้จากอาหารที่เรากินเข้าไปด้วย เช่น อาหารพวกน้ำมันพืช ไขมันสัตว์ หรือไขมันที่ซ่อนอยู่ในเนื้อ นม หรืออาหารอื่นๆ การสะสมของไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดที่มากผิดปกติ จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด อัมพาต อัมพฤกษ์ เช่นเดียวกับการมีโคเลสเตอรอลในเลือดสูง ทั้งนี้เพราะไตรกลีเซอไรด์ปริมาณสูงทำให้เลือดข้นเหนียวขึ้น เกิดการจับตัวกันเป็นลิ่มและอุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะหัวใจและสมอง ดังนั้นหากมีเซลล์ไขมันในร่างกายสูงจะทำให้มีอัตราเสี่ยงเป็นโรคหัวใจสูงขึ้นไปด้วยครับการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสารประกอบ phenolic acids และเฟลโวนอยด์ ในผัก ผลไม้มีประสิทธิภาพช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับเมตาบอลิซึมหรือกระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกายได้ เช่น กลุ่มอาการโรคอ้วนและโรคน้ำตาลในเลือดสูงที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคหัวใจครับงานวิจัยนี้มีชื่อว่า " Effects of Flavonoids and Phenolic Acids on the Inhibition of Adipogenesis in 3T3-L1 Adipocytes " ตีพิมพ์ในวารสารฉบับวันที่ 17 ต.ค. ในวารสาร Journal of Agricultural and Food Chemistry ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หนังสือดี ที่น่าอ่าน

หนังสือดี ที่น่าอ่าน
หนังสือ "อาหารลดความอ้วน กายบริหารลดน้ำหนัก" เล่มนี้เขียนโดยท่านอาจารย์ศรีสมร คงพันธุ์ ภาควิชาอาหารและโภชนาการ คณะคหกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล กรุงเทพฯขอขอบพระคุณ > ท่านอาจารย์ศรีสมร คงพันธุ์. ภาควิชาอาหารและโภชนาการ คณะคหกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล กรุงเทพฯ. อาหารลดความอ้วน กายบริหารลดน้ำหนัก. พิมพ์ครั้งที่ 13. สำนักพิมพ์แสงแดด (www.sangdad.com). 2548. ราคา 99 บาท.